"นาซ่า" สร้างภาพจำลองฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์
ข้อมูลจาก "ยานอวกาศ" 3 ลำบ่งชี้หลักฐานการค้นพบ "น้ำ" บนดวงจันทร์ที่มีความน่าเชื่อถือที่สุดและมีการตีพิมพ์รายละเอียดลงใน "ไซเอินซ์ แม็กกาซีน" นิตยสาร วิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก ช่วยเปิดทางให้ความฝันในการเริ่มต้นจัดตั้ง "อาณานิคมมนุษย์" บนดาวบริวารหนึ่งเดียวของโลกเขยิบเข้าใกล้ความจริงมากยิ่งขึ้น!
การค้นพบสัญญาณของ "น้ำ" เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างนัก วิทยาศาสตร์ประจำสำนักงานบริหารการบินและอวกาศ สหรัฐ อเมริกา (นาซ่า), มหาวิทยาลัยบราวน์, มหาวิทยาลัยแมร์รี่แลนด์, สำนักงานวิจัยธรณีวิทยา สหรัฐ (ยูเอสจีเอส) และองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย
ข้อมูลการวิเคราะห์ได้จากอุปกรณ์บนยานอวกาศแคสซินี่และดีพอิมแพคของนาซ่า รวมทั้งจันทรายาน 1 ของอินเดีย ซึ่งบ่งชี้ตรงกันว่า
พื้นที่หลายจุดบนพื้นผิวดวงจันทร์มี "โมเลกุลของน้ำ" และองค์ประกอบทางเคมีของน้ำที่เรียกว่า "ไฮดรอกซิล" ฉาบทาอยู่บางๆ
โดยจุดที่มีไฮดรอกซิลอยู่หนาแน่นมากที่สุด คือ จุดที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณ "ขั้วดวงจันทร์"
และตรงจุดที่ใน "เวลากลางวัน" อุณหภูมิความร้อนพุ่งถึงจุดเดือดก็ยังพบร่องรอยโมเลกุลของน้ำเช่นเดียวกัน
พระเอกในปฏิบัติการพบร่องรอยน้ำ ได้แก่ อุปกรณ์สเปกโตรมิเตอร์ หรือเครื่องมือวัดแสง ซึ่งติดตั้งอยู่ในยานทั้ง 3 ลำ
โดยเฉพาะสเปกโตรมิเตอร์สุดไฮเทค รุ่น "เอ็ม 3" ของนาซ่า ที่ติดอยู่กับจันทรายาน 1
1.สีฟ้าบ่งชี้จุดพบโมเลกุลน้ำและไฮดรอกซิล
2.นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบเครื่อง "เอ็ม 3" ซึ่งติดตั้งกับ "จันทรายาน 1"
3.สีฟ้า คือ จุดพบน้ำและแร่ธาตุบนดวงจันทร์
4.ภาพการวิเคราะห์พื้นผิวดวงจันทร์ และตัวอย่างหินดวงจันทร์
และทำงานโดยการวัดค่าแสงที่ตกกระทบ ผิวดวงจันทร์ด้วยคลื่นความถี่อินฟราเรด จนสามารถแยกพื้นที่ต่างๆ บนดวงจันทร์ออกเป็นหลายเฉดสี
ช่วยให้ทีมนักวิทยาศาสตร์นาซ่าแยกแยะจุดสะสมโมเลกุลของน้ำและไฮดรอกซิลได้ชัดเจน
"อย่างไรก็ดี เวลาเราพูดถึงคำว่า "น้ำบนดวงจันทร์" เราไม่ได้หมายถึงทะเลสาบ มหาสมุทร หรือแม้แต่แอ่งน้ำเล็กๆ แต่หมายถึงโมเลกุลของน้ำ กับไฮดรอกซิล ซึ่งทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของหินและฝุ่นบนผิวดวงจันทร์ โดยเฉพาะพื้นผิวส่วนบนสุดไม่กี่มิลลิเมตร" คาร์ล ไพเตอร์ส ผู้นำทีมวิจัยข้อมูล เอ็ม 3 อธิบาย
ก่อนหน้านี้ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2542 ยานแคสซินี่เคยบินผ่านดวงจันทร์ พร้อมส่งข้อมูลว่าอาจพบโมเลกุลของน้ำเช่นกัน
แต่หลักฐานไม่ชัดเจนเท่าครั้งล่าสุด
"ถ้ามองในแง่องค์ความรู้ทางวิทยา ศาสตร์เกี่ยวกับดวงจันทร์ การค้นพบสัญญาณของน้ำบนดวงจันทร์ครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครนำเสนอหลักฐานชัดเจนขนาดนี้มาก่อน แม้วิธีที่ได้มาซึ่งข้อมูลจะทำด้วยเทคโนโลยีที่มีความละเอียดซับซ้อนมาก ในฐานะที่ศึกษาดวงจันทร์มายาวนาน ผมรู้สึกตกตะลึงจริงๆ เมื่อได้อ่านงานวิจัยชิ้นนี้" พอล จี. ลูซีย์ นักวิทยาดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐ กล่าว
2.นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบเครื่อง "เอ็ม 3" ซึ่งติดตั้งกับ "จันทรายาน 1"
3.สีฟ้า คือ จุดพบน้ำและแร่ธาตุบนดวงจันทร์
4.ภาพการวิเคราะห์พื้นผิวดวงจันทร์ และตัวอย่างหินดวงจันทร์
และทำงานโดยการวัดค่าแสงที่ตกกระทบ ผิวดวงจันทร์ด้วยคลื่นความถี่อินฟราเรด จนสามารถแยกพื้นที่ต่างๆ บนดวงจันทร์ออกเป็นหลายเฉดสี
ช่วยให้ทีมนักวิทยาศาสตร์นาซ่าแยกแยะจุดสะสมโมเลกุลของน้ำและไฮดรอกซิลได้ชัดเจน
"อย่างไรก็ดี เวลาเราพูดถึงคำว่า "น้ำบนดวงจันทร์" เราไม่ได้หมายถึงทะเลสาบ มหาสมุทร หรือแม้แต่แอ่งน้ำเล็กๆ แต่หมายถึงโมเลกุลของน้ำ กับไฮดรอกซิล ซึ่งทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของหินและฝุ่นบนผิวดวงจันทร์ โดยเฉพาะพื้นผิวส่วนบนสุดไม่กี่มิลลิเมตร" คาร์ล ไพเตอร์ส ผู้นำทีมวิจัยข้อมูล เอ็ม 3 อธิบาย
ก่อนหน้านี้ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2542 ยานแคสซินี่เคยบินผ่านดวงจันทร์ พร้อมส่งข้อมูลว่าอาจพบโมเลกุลของน้ำเช่นกัน
แต่หลักฐานไม่ชัดเจนเท่าครั้งล่าสุด
"ถ้ามองในแง่องค์ความรู้ทางวิทยา ศาสตร์เกี่ยวกับดวงจันทร์ การค้นพบสัญญาณของน้ำบนดวงจันทร์ครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครนำเสนอหลักฐานชัดเจนขนาดนี้มาก่อน แม้วิธีที่ได้มาซึ่งข้อมูลจะทำด้วยเทคโนโลยีที่มีความละเอียดซับซ้อนมาก ในฐานะที่ศึกษาดวงจันทร์มายาวนาน ผมรู้สึกตกตะลึงจริงๆ เมื่อได้อ่านงานวิจัยชิ้นนี้" พอล จี. ลูซีย์ นักวิทยาดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐ กล่าว
ภาพจากอุปกรณ์ "เอ็ม 3" พื้นที่สีฟ้า คือ จุดพบโมเลกุลของน้ำบนดวงจันทร์
ลูซีย์ ระบุด้วยว่า เมื่อดูข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ตำแหน่งที่อาจมีปริมาณน้ำสะสมมากพอต่อการนำมาใช้ นั่นคือ
พื้นที่โดยรอบ "ขั้วเหนือ-ขั้วใต้"
ส่วนจะมีประมาณที่แท้จริงมากเพียงใด คงต้องรอผลการทดลองขั้นต่อไปหลังจากวันที่ 9 ตุลาคมนี้
เมื่อนาซ่ามีแผนยิง "ดาวเทียมแอลครอส" (LCROSS) พุ่งชนหลุมบริเวณ "ขั้วใต้ของดวงจันทร์" ซึ่งมีชื่อเรียกว่า หลุม "Cabeus A"
เพื่อระเบิดสิ่งที่อยู่ใต้พื้นผิวให้พวยพุ่งออกมา
และใช้ดาวเทียมในอวกาศ รวมถึงกล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ภาคพื้นโลก ตรวจหาหลักฐานการมีอยู่ของ "น้ำแข็ง" และ "น้ำ"
โรเจอร์ คลาร์ก นักวิทยาศาสตร์สังกัดสำนักงานธรณีวิทยา หรือ "ยูเอสจีเอส" ระบุว่า
ปฏิบัติการที่เกิดขึ้นจะช่วยเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อดวงจันทร์ใหม่
จากเดิมเห็นว่าเป็นดาวบริวารแห้งแล้ง ไร้ประโยชน์ ให้กลับมามีความหวังถึงแผนตั้งนิคมมนุษย์อีกครั้ง
"เราพบน้ำแทบทุกละติจูดของดวงจันทร์ ไม่เว้นแม้แต่จุดที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดบนพื้นโลก ซึ่งเป็นเรื่องน่าประหลาดใจมาก" คลาร์ก กล่าว
อีกคำถามที่ตามมาพร้อมงานวิจัยดวงจันทร์ใหม่ล่าสุดของนาซ่ากับพันธมิตร ก็คือ
แล้วน้ำ หรือโมเลกุลของน้ำ ถือกำเนิดบนดวงจันทร์ได้อย่างไร?
นาซ่าตั้งสมมติฐานหาคำตอบไว้ 3 ข้อ ว่า
1.เกิดจากการถูกดาวหางไม่ทราบจำนวนพุ่งชน และภายในดาวหางเหล่านี้มีน้ำอยู่ภายใน
2.ถูกอุกกาบาตพุ่งชน ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินเผยตัวออกมา
3.เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพราะการทำอันตรกิริยาระหว่าง "ลมสุริยะ" จากดวงอาทิตย์ กับแร่ธาตุในดิน-หินบนดวงจันทร์ โดยเมื่ออนุภาค "ไฮโดรเจน" กับ "ฮีเลียม" ในลมสุริยะพัดมาชนพื้นผิวดวงจันทร์อย่างรุนแรง จะทำปฏิกิริยากับ "ออกซิเจน" ในดิน และจับตัวกันกลายเป็นน้ำ หรือไฮดรอกซิล
คณะนักวิทยาศาสตร์นาซ่าหวังว่า การพบข้อมูลใหม่เรื่องน้ำบนผิวดวงจันทร์จะ ช่วยให้รัฐบาลสหรัฐชุดใหม่ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัก โอบามา
ตัดสินใจอนุมัติเดินหน้าโครงการส่ง "มนุษย์ อวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์" อีกครั้ง
และเริ่มต้นกระบวนการสร้าง "ฐานบนดวงจันทร์" ภายในปีพ.ศ.2563 เพื่อต่อยอดใช้เป็นฐานส่งมนุษย์บุกเบิกสำรวจ "ดาวอังคาร" ต่อไป
ทั้งนี้เนื่องจาก "น้ำ" คือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์
นอกจากนั้น ยังนำมาผลิตเป็นก๊าซออกซิเจนสำหรับใช้หายใจ
และแยกโมเลกุลของมันออกมาใช้เป็น "เชื้อเพลิง" ป้อนจรวดในภารกิจเดินทางไปกลับระหว่างพื้นโลก กับดวงจันทร์นั่นเอง
ข้อมูลจาก :
ที่มา : เว็บไซต์นาซ่า, น.ส.พ.แอลเอไทมส์ และ ข่าวสด
____________________
เครดิต : dek-d.com
________________________________
0 ความคิดเห็น:
Speak up your mind
Tell us what you're thinking... !